วันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2553

ความเครียด

          ความเครียด คือสภาวะของจิตใจที่ขาดความอดทน อดกลั้นและเต็ม
ไปด้วยความคิดที่ไร้ประโยชน์ อันเนื่องมาจากความกดดันจากภาระหน้าที่
การงาน การเงิน ความสัมพันธ์ที่ขัดแย้ง  รวมทั้งความไม่ถูกต้อง ความก้าว
ร้าวรุนแรง และสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษเป็นการบั่นทอนจิตใจให้ขาดพลัง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากปัญหารุนแรงมาก ก็เกิดอาการเครียดที่ยาวนาน (เช่น
 อุบัติเหตุ   การเจ็บป่วยการตกใจกระทันหันต่อเหตุการณ์หรือภัยพิบัติต่างๆ)
มีผลเสียต่อ สุขภาพและการดำเนินชีวิตทำให้ไม่สามารถเผชิญหรือแก้ปัญหา
มีการตัดสินที่ไม่ยุติธรรม ความจำเสื่อม    ขาดความกระตือรือร้น ความสนใจ
 และความสุขที่แท้จริงภายใน


สาเหตุของความเครียด
- ความหยิ่งทะนงที่มาพร้อมกับความอิจฉาริษยา ไม่ยอมรับนับถือ
   ผู้ใด และพร้อมที่จะโต้แย้งแข่งขันเพื่อพิสูจน์คุณค่าของตนเอง
- การมองโลกในแง่ร้าย ไม่มีความสงบ-เยือกเย็นภายใน
- การเพ่งพิจารณาแต่ความบกพร่อง-อ่อนแอของผู้อื่น ไม่สำรวจ
  ตรวจสอบและแก้ไขตนเอง
- ความรู้สึกที่อ่อนไหวง่าย ไม่เข้าใจอะไรลึกซึ้ง-สมบูรณ์
- ความอยาก ไม่สามารถอยู่อย่างพอใจและสมหวัง
- ความผูกพันยึดมั่น ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงหรือการสูญเสีย
- ความเห็นแก่ตัว ไม่พร้อมที่จะให้ด้วยความสุข สบายใจ
- ความโกรธที่รุนแรง ไม่ให้อภัยต่อความผิดพลาด ทำเรื่องเล็ก
   เป็นเรื่องใหญ่
- การอยู่ภายใต้ของอิทธิพลของค่านิยมที่ไม่ถูกต้อง ไม่มีการดำ
  เนินชีวิตที่สมดุลและสมบูรณ์

ผลร้ายของความเครียด
- ทำลายความสัมพันธ์ ก่อให้เกิดความแตกแยก
- สภาพอารมณ์ไม่มั่นคง ตื่นเต้น ตกใจง่าย กระวนกระวาย กล้าม
  เนื้อกระตุก อยู่ไม่สุข วิตกกังวล และนอนไม่หลับ
- ทำให้เซลในร่างกายมีอายุสั้นลง ความจำเสื่อม ประสิทธิภาพ
  ในการเรียน-การทำงานลดลง
- เป็นสาเหตุของการตายโดยฉับพลัน และการฆ่าตัวตาย
- เป็นยาพิษที่ออกฤทธิ์ช้า ๆ ก่อให้เกิดปัญหาโรคภัยต่างๆ เช่น
  โรคผิวหนัง โรคอ้วน โรคปวดศีรษะ โรคปวดหลัง โรคกระเพาะ
  โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคมะเร็ง และอื่นๆ
  อีกทั้งลดประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เป็นเหตุชัก
  นำให้เกิดโรคติดเชื้อต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น

     โดยทั่วไปผู้คนแก้ปัญหาความเครียดด้วยวิธีเหล่านี้
- หนี หลีกเลี่ยงสถานการณ์ เป็นวิธีที่ไม่อาจบรรลุเป้าหมายใน
  การใช้ความสามารถอย่างเต็มที่
- หาที่พึ่ง แสวงหาความช่วยเหลือจากภายนอกเพื่อบรรเทาหรือ
  เพิกเฉยต่อต้นเหตุของปัญหา เช่น การสนับสนุนจากญาติมิตร
  การพักผ่อนหย่อนใจ การออกกำลังกาย การระบายความรู้สึก
  หรือปรึกษาผู้อื่นรวมทั้ง บุหรี่ สุรา ยาเสพติด เป็นสิ่งที่ช่วยได้
  ในระยะสั้น ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความสัมพันธ์
- ยอมแพ้ สุขภาพอ่อนแอ เจ็บป่วยเป็นโรค   หรือมีอาการทาง
   กายต่าง ๆ เช่น หอบหืด ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ
- เผชิญหน้า ใช้กลไกภายในเพิ่มความเข้มแข็งของจิตใจและสติ
   ปัญญา   ด้วยการศึกษาสาเหตุของปัญหาพร้อมกับฝึกฝนจิตใจ
   ให้มีความสงบ มีสมาธิ ใช้เหตุผลในการแก้ไข เป็นการพัฒนา
   ทักษะ การวิเคราะห์ การตัดสินใจ การควบคุมความคิด การกระ
   ทำ ที่นำตนเองไปสู่เป้าหมายใหม่ในชีวิตที่พร้อมจะเผชิญเหตุ
    การณ์ต่าง ๆ ด้วยความเข้าใจ


วิธีการขจัดความเครียด
- มีความเคารพในตนเอง และผู้อื่นตลอดเวลาด้วยการยอมรับ
  คุณค่าบทบาทที่แตกต่างกัน และไม่เปรียบเทียบแข่งขัน
- มีทัศนคติที่ดีต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ด้วยการสร้างความคิดที่
   เรียบง่าย ไม่ซับซ้อน สับสน
- ระมัดระวังความคิด-คำพูด-การกระทำ ด้วยการสร้างสำนึกที่
  บริสุทธิ์ ทำให้ผู้อื่นหลุดพ้นจากปัญหาและความทุกข์
- สร้างความสัมพันธ์กับทุกสิ่งอย่างถูกต้อง ด้วยการเข้าใจกฎ
   แห่งกรรมอย่างลึกซึ้ง
- เรียนรู้ที่จะให้ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ ไม่คาดหวังสิ่งใดตอบแทน
   ด้วยการขจัดความอยากต่าง ๆ
- เข้าใจชีวิตอย่างแท้จริง   ด้วยการฝึกจิตที่มีเป้าหมายในการ
  เปลี่ยนแปลงความคิด ทัศนคติของตนเอง ให้อยู่อย่างละวาง
  และเต็มไปด้วยความรัก    โดยไม่ละทิ้งความรับผิดชอบต่อ
  ครอบครัวและสังคม


แหล่งที่มา
บทความจากเอกสารแผ่นพับของ ศูนย์ ราชาโยคะ ปี พ.ศ.2534
http://www.iamspiritual.com/chai/pp/stress.html

1 ความคิดเห็น:

  1. ขอขอบคุณสำหรับข้อมูลดีดี
    ทุกวันนี้สังคมและอาชีพการงานทำให้เรารู้สึกเครียดมากขึ้น

    ตอบลบ