วันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2553

โภชนบัญญัติ

            ความจริงที่ว่า ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ ยังเป็นคำพูดที่ไม่ล้าสมัย
เพราะคงไม่มีใครปฏิเสธว่าการมีสุขภาพดี มีค่ากว่าการได้ลาภเป็นเงินเป็นทองด้วยซ้ำ
ไป เพราะแม้ว่าจะมีเงินมากองจนท่วมตัวก็ไม่สามารถซื้อสุขภาพที่ดีคืนมาได้ สุขภาพ
เป็นสิ่งที่ไม่มีใคร   นอกจากตัวเราเท่านั้นที่จะเป็นผู้กำหนด    เป็นสิ่งที่เราเลือกได้ แต่
เราได้เลือกแล้วหรือยัง  มองย้อนกลับไปดูว่าที่ผ่านมา   เราดำเนินชีวิตอย่างถูกต้อง
หรือเปล่า   เราสนใจเรื่องอาหารการกินมากน้อยแค่ไหน เรากินเพื่ออยู่ไปวันๆ หรือเรา
มีความสุขกับการกินจนมากเกินไป ถ้าเป็นเช่นนั้น คงถึงเวลาแล้วที่เราต้องรีบปรับตัว
และไม่ปล่อยปละละเลยกับการดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ เพราะหากเป็น
ปัญหาขึ้นมาแล้ว   อาจสายเกินแก้    เมื่อพูดถึงการดูแลสุขภาพ   เรื่องอาหารการกิน
ดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่เห็นได้ชัดเจนกว่าเรื่องอื่น


             ดังนั้น การจัดปรับพฤติกรรมการกินให้ถูกต้อง     ถูกหลักโภชนาการที่ดีกิน
อาหารที่ถูกสุขลักษณะ กินเป็นเวลา ที่สำคัญ คือ กินให้พอดีและกินให้หลากหลาย
ก็สามารถลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยไปได้มากกว่าครึ่งหนึ่งแล้ว    ในการทำความ
เข้าใจเรื่องการกินอาหาร     เพื่อสุขภาพที่ดีและห่างไกลโรคต่างๆ  ที่เกิดจากการกิน
ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น  ลองสำรวจตัวเองว่ามีพฤติกรรมการกินอาหาร เพื่อสุขภาพมากน้อย
แค่ไหน


จากโภชนบัญญัติ 9 ข้อต่อไปนี้
1. กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลาย ไม่ซ้ำซาก เพื่อความเพียงพอ
    ของสารอาหารและไม่สะสมสารพิษ ในร่างกาย และหมั่นดูแลน้ำหนักตัว
2. กินข้าวเป็นอาหารหลักสลับกับอาหารประเภทแป้งเป็นบางมื้อ และเพื่อคุณค่าที่มาก
    กว่าขอแนะ
3. กินพืชผักให้มากและกินผลไม้เป็นประจำ เพื่อให้ได้วิตามิน ใยอาหารและสาร
    ป้องกันอนุมูลอิสระ
4. กินปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ ถั่วเมล็ดแห้งเป็นประจำ คนทั่วไปที่สุขภาพดีไม่มี
    ปัญหาคอเลสเตอรอลสูงกินไข่ได้วันละ 1 ฟอง ผู้สูงอายุกินไข่ได้วันเว้นวัน ถั่ว
    เหลืองและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากถั่วเหลืองเป็นอาหารเพื่อสุขภาพควรกินเป็นประจำ
5. ดื่มนมให้เหมาะสมตามวัย นมที่ไขมันต่ำหรือนมถั่วเหลือง จะให้ประโยชน์มากทำ
    ให้ไม่มีไขมันสะสม
6. กินอาหารที่มีไขมันแต่พอควร ลดการกินอาหารผัดและทอด ปรุงอาหารด้วยวิธีต้ม
    นึ่ง อบ แทน
7. หลีกเลี่ยงการกินอาหารรสหวานจัดและเค็มจัด     เพื่อลดความเสี่ยงโรคไม่ติดต่อ
     เรื้อรัง
8 . กินอาหารที่สะอาดปราศจากการปนเปื้อน  เลือกซื้ออาหารปรุงสุกใหม่ๆ  ล้างผักให้
     สะอาดก่อนปรุง 9. งดหรือลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์      เพราะบั่นทอนสุขภาพ
     และเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ โภชนบัญญัติ
9. ข้อนี้ บอกถึงการกินดี กินอย่างถูกต้อง ส่วนเรื่องการนำไปปฏิบัติจริงๆ เราจะต้องมี
    ความรู้เกี่ยวกับปริมาณของอาหารที่จะกินให้เหมาะสมด้วย    ใครควรจะกินมากกิน
    น้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับ อายุ เพศ  และกิจกรรมที่ต้องมีการใช้พลังงานมากน้อยต่าง
    กันของแต่ละคน ซึ่งจะติดตามได้ต่อไป


แหล่งข้อมูล
บทความมติชน ตอนที่ 3 ประจำวันอาทิตย์ที่ 5 ต.ค .46 โดย รศ . ดร . ประไพศรี ศิริจักรวาล สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/409/42409/images/fruit.jpg
http://www.bayjai.com/board/modules/activeshow_mod/images/picture/1259479021.jpg

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น