วันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2553

ความเครียด

          ความเครียด คือสภาวะของจิตใจที่ขาดความอดทน อดกลั้นและเต็ม
ไปด้วยความคิดที่ไร้ประโยชน์ อันเนื่องมาจากความกดดันจากภาระหน้าที่
การงาน การเงิน ความสัมพันธ์ที่ขัดแย้ง  รวมทั้งความไม่ถูกต้อง ความก้าว
ร้าวรุนแรง และสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษเป็นการบั่นทอนจิตใจให้ขาดพลัง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากปัญหารุนแรงมาก ก็เกิดอาการเครียดที่ยาวนาน (เช่น
 อุบัติเหตุ   การเจ็บป่วยการตกใจกระทันหันต่อเหตุการณ์หรือภัยพิบัติต่างๆ)
มีผลเสียต่อ สุขภาพและการดำเนินชีวิตทำให้ไม่สามารถเผชิญหรือแก้ปัญหา
มีการตัดสินที่ไม่ยุติธรรม ความจำเสื่อม    ขาดความกระตือรือร้น ความสนใจ
 และความสุขที่แท้จริงภายใน


สาเหตุของความเครียด
- ความหยิ่งทะนงที่มาพร้อมกับความอิจฉาริษยา ไม่ยอมรับนับถือ
   ผู้ใด และพร้อมที่จะโต้แย้งแข่งขันเพื่อพิสูจน์คุณค่าของตนเอง
- การมองโลกในแง่ร้าย ไม่มีความสงบ-เยือกเย็นภายใน
- การเพ่งพิจารณาแต่ความบกพร่อง-อ่อนแอของผู้อื่น ไม่สำรวจ
  ตรวจสอบและแก้ไขตนเอง
- ความรู้สึกที่อ่อนไหวง่าย ไม่เข้าใจอะไรลึกซึ้ง-สมบูรณ์
- ความอยาก ไม่สามารถอยู่อย่างพอใจและสมหวัง
- ความผูกพันยึดมั่น ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงหรือการสูญเสีย
- ความเห็นแก่ตัว ไม่พร้อมที่จะให้ด้วยความสุข สบายใจ
- ความโกรธที่รุนแรง ไม่ให้อภัยต่อความผิดพลาด ทำเรื่องเล็ก
   เป็นเรื่องใหญ่
- การอยู่ภายใต้ของอิทธิพลของค่านิยมที่ไม่ถูกต้อง ไม่มีการดำ
  เนินชีวิตที่สมดุลและสมบูรณ์

ผลร้ายของความเครียด
- ทำลายความสัมพันธ์ ก่อให้เกิดความแตกแยก
- สภาพอารมณ์ไม่มั่นคง ตื่นเต้น ตกใจง่าย กระวนกระวาย กล้าม
  เนื้อกระตุก อยู่ไม่สุข วิตกกังวล และนอนไม่หลับ
- ทำให้เซลในร่างกายมีอายุสั้นลง ความจำเสื่อม ประสิทธิภาพ
  ในการเรียน-การทำงานลดลง
- เป็นสาเหตุของการตายโดยฉับพลัน และการฆ่าตัวตาย
- เป็นยาพิษที่ออกฤทธิ์ช้า ๆ ก่อให้เกิดปัญหาโรคภัยต่างๆ เช่น
  โรคผิวหนัง โรคอ้วน โรคปวดศีรษะ โรคปวดหลัง โรคกระเพาะ
  โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคมะเร็ง และอื่นๆ
  อีกทั้งลดประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เป็นเหตุชัก
  นำให้เกิดโรคติดเชื้อต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น

     โดยทั่วไปผู้คนแก้ปัญหาความเครียดด้วยวิธีเหล่านี้
- หนี หลีกเลี่ยงสถานการณ์ เป็นวิธีที่ไม่อาจบรรลุเป้าหมายใน
  การใช้ความสามารถอย่างเต็มที่
- หาที่พึ่ง แสวงหาความช่วยเหลือจากภายนอกเพื่อบรรเทาหรือ
  เพิกเฉยต่อต้นเหตุของปัญหา เช่น การสนับสนุนจากญาติมิตร
  การพักผ่อนหย่อนใจ การออกกำลังกาย การระบายความรู้สึก
  หรือปรึกษาผู้อื่นรวมทั้ง บุหรี่ สุรา ยาเสพติด เป็นสิ่งที่ช่วยได้
  ในระยะสั้น ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความสัมพันธ์
- ยอมแพ้ สุขภาพอ่อนแอ เจ็บป่วยเป็นโรค   หรือมีอาการทาง
   กายต่าง ๆ เช่น หอบหืด ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ
- เผชิญหน้า ใช้กลไกภายในเพิ่มความเข้มแข็งของจิตใจและสติ
   ปัญญา   ด้วยการศึกษาสาเหตุของปัญหาพร้อมกับฝึกฝนจิตใจ
   ให้มีความสงบ มีสมาธิ ใช้เหตุผลในการแก้ไข เป็นการพัฒนา
   ทักษะ การวิเคราะห์ การตัดสินใจ การควบคุมความคิด การกระ
   ทำ ที่นำตนเองไปสู่เป้าหมายใหม่ในชีวิตที่พร้อมจะเผชิญเหตุ
    การณ์ต่าง ๆ ด้วยความเข้าใจ


วิธีการขจัดความเครียด
- มีความเคารพในตนเอง และผู้อื่นตลอดเวลาด้วยการยอมรับ
  คุณค่าบทบาทที่แตกต่างกัน และไม่เปรียบเทียบแข่งขัน
- มีทัศนคติที่ดีต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ด้วยการสร้างความคิดที่
   เรียบง่าย ไม่ซับซ้อน สับสน
- ระมัดระวังความคิด-คำพูด-การกระทำ ด้วยการสร้างสำนึกที่
  บริสุทธิ์ ทำให้ผู้อื่นหลุดพ้นจากปัญหาและความทุกข์
- สร้างความสัมพันธ์กับทุกสิ่งอย่างถูกต้อง ด้วยการเข้าใจกฎ
   แห่งกรรมอย่างลึกซึ้ง
- เรียนรู้ที่จะให้ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ ไม่คาดหวังสิ่งใดตอบแทน
   ด้วยการขจัดความอยากต่าง ๆ
- เข้าใจชีวิตอย่างแท้จริง   ด้วยการฝึกจิตที่มีเป้าหมายในการ
  เปลี่ยนแปลงความคิด ทัศนคติของตนเอง ให้อยู่อย่างละวาง
  และเต็มไปด้วยความรัก    โดยไม่ละทิ้งความรับผิดชอบต่อ
  ครอบครัวและสังคม


แหล่งที่มา
บทความจากเอกสารแผ่นพับของ ศูนย์ ราชาโยคะ ปี พ.ศ.2534
http://www.iamspiritual.com/chai/pp/stress.html

โภชนบัญญัติ

            ความจริงที่ว่า ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ ยังเป็นคำพูดที่ไม่ล้าสมัย
เพราะคงไม่มีใครปฏิเสธว่าการมีสุขภาพดี มีค่ากว่าการได้ลาภเป็นเงินเป็นทองด้วยซ้ำ
ไป เพราะแม้ว่าจะมีเงินมากองจนท่วมตัวก็ไม่สามารถซื้อสุขภาพที่ดีคืนมาได้ สุขภาพ
เป็นสิ่งที่ไม่มีใคร   นอกจากตัวเราเท่านั้นที่จะเป็นผู้กำหนด    เป็นสิ่งที่เราเลือกได้ แต่
เราได้เลือกแล้วหรือยัง  มองย้อนกลับไปดูว่าที่ผ่านมา   เราดำเนินชีวิตอย่างถูกต้อง
หรือเปล่า   เราสนใจเรื่องอาหารการกินมากน้อยแค่ไหน เรากินเพื่ออยู่ไปวันๆ หรือเรา
มีความสุขกับการกินจนมากเกินไป ถ้าเป็นเช่นนั้น คงถึงเวลาแล้วที่เราต้องรีบปรับตัว
และไม่ปล่อยปละละเลยกับการดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ เพราะหากเป็น
ปัญหาขึ้นมาแล้ว   อาจสายเกินแก้    เมื่อพูดถึงการดูแลสุขภาพ   เรื่องอาหารการกิน
ดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่เห็นได้ชัดเจนกว่าเรื่องอื่น


             ดังนั้น การจัดปรับพฤติกรรมการกินให้ถูกต้อง     ถูกหลักโภชนาการที่ดีกิน
อาหารที่ถูกสุขลักษณะ กินเป็นเวลา ที่สำคัญ คือ กินให้พอดีและกินให้หลากหลาย
ก็สามารถลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยไปได้มากกว่าครึ่งหนึ่งแล้ว    ในการทำความ
เข้าใจเรื่องการกินอาหาร     เพื่อสุขภาพที่ดีและห่างไกลโรคต่างๆ  ที่เกิดจากการกิน
ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น  ลองสำรวจตัวเองว่ามีพฤติกรรมการกินอาหาร เพื่อสุขภาพมากน้อย
แค่ไหน


จากโภชนบัญญัติ 9 ข้อต่อไปนี้
1. กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลาย ไม่ซ้ำซาก เพื่อความเพียงพอ
    ของสารอาหารและไม่สะสมสารพิษ ในร่างกาย และหมั่นดูแลน้ำหนักตัว
2. กินข้าวเป็นอาหารหลักสลับกับอาหารประเภทแป้งเป็นบางมื้อ และเพื่อคุณค่าที่มาก
    กว่าขอแนะ
3. กินพืชผักให้มากและกินผลไม้เป็นประจำ เพื่อให้ได้วิตามิน ใยอาหารและสาร
    ป้องกันอนุมูลอิสระ
4. กินปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ ถั่วเมล็ดแห้งเป็นประจำ คนทั่วไปที่สุขภาพดีไม่มี
    ปัญหาคอเลสเตอรอลสูงกินไข่ได้วันละ 1 ฟอง ผู้สูงอายุกินไข่ได้วันเว้นวัน ถั่ว
    เหลืองและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากถั่วเหลืองเป็นอาหารเพื่อสุขภาพควรกินเป็นประจำ
5. ดื่มนมให้เหมาะสมตามวัย นมที่ไขมันต่ำหรือนมถั่วเหลือง จะให้ประโยชน์มากทำ
    ให้ไม่มีไขมันสะสม
6. กินอาหารที่มีไขมันแต่พอควร ลดการกินอาหารผัดและทอด ปรุงอาหารด้วยวิธีต้ม
    นึ่ง อบ แทน
7. หลีกเลี่ยงการกินอาหารรสหวานจัดและเค็มจัด     เพื่อลดความเสี่ยงโรคไม่ติดต่อ
     เรื้อรัง
8 . กินอาหารที่สะอาดปราศจากการปนเปื้อน  เลือกซื้ออาหารปรุงสุกใหม่ๆ  ล้างผักให้
     สะอาดก่อนปรุง 9. งดหรือลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์      เพราะบั่นทอนสุขภาพ
     และเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ โภชนบัญญัติ
9. ข้อนี้ บอกถึงการกินดี กินอย่างถูกต้อง ส่วนเรื่องการนำไปปฏิบัติจริงๆ เราจะต้องมี
    ความรู้เกี่ยวกับปริมาณของอาหารที่จะกินให้เหมาะสมด้วย    ใครควรจะกินมากกิน
    น้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับ อายุ เพศ  และกิจกรรมที่ต้องมีการใช้พลังงานมากน้อยต่าง
    กันของแต่ละคน ซึ่งจะติดตามได้ต่อไป


แหล่งข้อมูล
บทความมติชน ตอนที่ 3 ประจำวันอาทิตย์ที่ 5 ต.ค .46 โดย รศ . ดร . ประไพศรี ศิริจักรวาล สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/409/42409/images/fruit.jpg
http://www.bayjai.com/board/modules/activeshow_mod/images/picture/1259479021.jpg

การนอนหลับ

                  สาระน่ารู้ของการนอนหลับ แพทย์ศิริราช แนะท่านอนที่ทำให้หลับสบาย
 ตื่นขึ้นมาสดชื่น “นอนตะแคงขวา” ช่วยให้หัวใจเต้นสะดวก  บรรเทาอาการปวดหลัง
ส่วนผู้ถนัดนอนตะแคงซ้าย อาจทำให้เกิดลมจุกเสียดที่ลิ้นปี่   แนะกอดหมอนข้าง
พร้อมพาดขา  ป้องกันขาชาจากการนอนทับเป็นเวลานาน  นพ.ชนินทร์ ลีวานันท์
ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า การพักผ่อน
ที่ดีที่สุดคือ การนอนหลับ มนุษย์ใช้เวลาเพื่อนอนหลับถึง 1ใน 3 ของอายุขัย    ขณะ
นอนหลับท่านอนเป็นสิ่งสำคัญที่จะส่งผลให้ผู้นอนหลับสนิทตลอดคืน และตื่นนอน
ด้วยความสดชื่น  ไม่รู้สึกปวดเมื่อย      ซึ่งโดยปกติคนทั่วไปคนเรานิยมนอนหงาย
เพราะเป็นท่านอนมาตรฐาน    การนอนหงายที่เหมาะสมนั้น     ควรใช้หมอนต่ำและ
ต้นคอควรอยู่ในแนวเดียวกันกับลำตัว    เพื่อไม่ให้ปวดคอ   อย่างไรก็ตาม    ท่านอน
หงายไม่เหมาะกับผู้ป่วยโรคปอดและโรคหัวใจ เพราะกล้ามเนื้อกระบังลมจะกดทับ
ปอดทำให้หายใจไม่สะดวก   ส่งผลทำให้การทำงานของหัวใจลำบากยิ่งขึ้น   นอก
จากนี้ ผู้มีอาการปวดหลังการนอนหงายในท่าราบจะทำให้อาการปวดรุนแรงขึ้นด้วย


นพ.ชนินทร์ กล่าวว่า สำหรับท่านอนที่ดีที่สุด เมื่อเทียบกับท่านอนอื่น ๆ คือ ท่านอน
ตะแคงขวา  เพราะจะช่วยให้หัวใจเต้นสะดวก  และอาหารจากกระเพาะจะถูกบีบลง
ลำไส้เล็กได้ดี   ทั้งยังช่วยบรรเทาอาการปวดหลังได้เป็นอย่างดีอีกด้วย     ส่วนท่า
นอนตะแคงซ้ายซึ่งจะช่วยลดอาการปวดหลังได้ แต่ควรกอดหมอนข้าง    และพาด
ขาไว้เพื่อป้องกันอาการชาที่ขาซ้ายจากการนอนทับเป็นเวลานาน
             อย่างไรก็ตาม        ท่านอนตะแคงซ้ายอาจทำให้เกิดลมจุกเสียดบริเวณลิ้นปี่
เนื่องจากอาหารที่ยังย่อยไม่หมดในช่วงก่อนเข้านอนคั่งค้างในกระเพาะอาหาร ส่วน
ท่านอนคว่ำเป็นท่าที่ทำให้หายใจติดขัด   ทั้งยังทำให้ปวดต้นคอ   เพราะต้องเงยหน้า
มาทางด้านหลังหรือบิดหมุนไปข้างใดข้างหนึ่งเป็นเวลานาน     ดังนั้น ถ้าจำเป็นต้อง
นอนคว่ำจึงควรใช้หมอนรองใต้ทรวงอก เพื่อป้องกันอาการปวดเมื่อยต้นคอ
แหล่งข้อมูล

http://www.blogger.com/post-edit.g?blogID=7112449426483702528&postID=3845929450094267518
http://www.sahavicha.com/?name=article&file=readarticle&id=482

วันเสาร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2553

ความหลงใหลในรถสองล้อ

ผมชื่นชอบและสะสมรถสองล้อมานาน  ในวัยเด็กผมได้รถจักรยานเป็นของขวัญ
วันเกิด  กว่าผมจะขี่ได้เก่งเหมือนทุกวันนี้ก็ทำให้ผมได้บาดแผลหลายที่